รีวิว ก้านกล้วย
อนิเมชั่นจากฝีมือคนไทยเรื่องที่ชอบที่สุดจนขอยกให้เป็นอนิเมชั่นไทยที่ดีที่สุดตั้งแต่เคยดูมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ดูก้านกล้วยกันมาตั้งแต่เด็ก เวลาก็ผ่านมานานจนหลงๆ ลืมๆ เนื้อเรื่องไปบ้างจนมาตอนนี้ netflix เอามาลงก็เลยลองกลับมาดูอีกสักที ดูอนิเมะ
รีวิว ก้านกล้วย เนื้อเรื่อง
ก้านกล้วยเป็นอนิเมชั่นอิงประวัติศาสตร์โดยใช้ช้างชื่อ “ก้านกล้วย” เป็นตัวเอกในการดำเนินเรื่อง เรื่องราวว่าด้วยการที่ก้านกล้วยลูกช้างกำพร้าต้องการตามหาพ่อที่ตัวเองไม่เคยได้พบ จนนำพาไปสู่การพานพบมิตรภาพ ความรัก ความกล้าหาญ ความเสียสละมากมาย
ก้านกล้วยเป็นอนิเมชั่นที่ฉายความเป็นไทยออกมาชัดเจนมาก ทั้งฉากภูมิทัศน์ต่างๆ แม้แต่ก่อนเมฆบนฟ้าถ้าสังเกตก็จะเห็นว่าเป็นลายไทย ตัวละครมีความชัดเจนมีเอกลักษณ์จดจำได้ง่าย และด้วยเพราะเป็นการ์ตูนอิงประวัติศาสตร์จึงมีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อย่าง “พระนเรศวร” อยู่ในเรื่องด้วย
นี่เป็นอีกจุดที่ประทับใจทุกครั้งที่ดูก้านกล้วย เพราะเหตุผลในการเลือกช้างทรงของพระนเรศวรนั้นมีมากกว่าเลือกตามตำราคชลักษณ์ อนิเมชั่นมีการปูเรื่องราวมาตั้งแต่ก้านกล้วยวัยเด็กและพระนเรศวรวัยเด็กว่าเคยได้พบกันมาก่อน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เข้ากับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน
อีกทั้งยังมีการใส่ฉากที่ก้านกล้วยละทิ้งการแข่งขันเพื่อวิ่งออกมาหาแม่ ซึ่งทำออกมาได้ดีมากเพราะมีการไต่ระดับอารมณ์มาตั้งแต่เริ่มเรื่องแล้วว่าความต้องการของก้านกล้วยคือพ่อแม่
แต่แม้จุดหมายคือการได้อยู่กับพ่อแม่พร้อมหน้า แต่สิ่งได้มาระหว่างการเดินทางก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากันเลย ตั้งแต่การพลัดพรากจนได้พบมิตรภาพ ได้เติบโต ได้เรียนรู้ชีวิต ตรงนี้แอบให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดู
Lion king ผสม Mulan คือดูมีความเป็นไทยแต่เข้าใจง่ายแบบสากลที่ชาติไหนดูก็รู้เรื่องรู้บริบท
ก้านกล้วยเป็นอนิเมชั่นไทยเรื่องเดียวละสายตาตอนดูไม่ได้ ด้วยเสน่ห์ของเรื่องราว ภาพ เพลง การดำเนินเรื่อง เราชอบและประทับใจถึงขนาดตั้งคำถามอยู่ในใจตลอดเวลาที่ดูว่าใครเป็นคนเขียนบท ใครกำกับ ใครวาด เป็นอนิเมชั่นไทยที่ยกขึ้นหิ้งไปแล้วจริงๆ สำหรับตัวเรา
ได้อ่านหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 13 มิ.ย. เขาลงว่าก้านกล้วยทำรายได้ถึงหนึ่งร้อยล้านแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดตัวภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของไทยได้น่าดูชมทีเดียว (เรื่องล่าสุดเขาว่าน่าจะเป็น “บางระจัน” ละมั้งที่ทำสถิตินี้ได้
เราเองก็อินเทรนด์กะเค้าเหมือนกัน ไปดูมาเมื่อประมาณอาทิตย์ที่แล้ว ก็เอามาเล่าให้ฟังละกันนะก้านกล้วยเป็นเรื่องชีวิตช้างเชือกหนึ่งที่อยู่ในป่า แล้วจับพลัดจับผลูไปเป็นทหารช้างในศึกยุทธหัตถีช่วงสงครามที่พระนเรศวร ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตอนนั้นกรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าครั้งแรก ดูอนิเมะออนไลน์
และตามท้องเรื่อง “ก้านกล้วย” เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กอบกู้เอกราชคืนได้ในที่สุดอย่างแรกที่รู้สึกเวลาดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ กราฟฟิคสวยมาก! ทั้งแสง สี การเก็บรายละเอียดสวยมากจริงๆ ขอยกตัวอย่างเช่น ภายในท้องพระโรงที่ก้านกล้วย และแม่เดินเข้าไป จะมีอยู่ภาพหนึ่งที่ห่วงสำหรับใส่งาช้างที่เคยเป็นของพ่อก้านกล้วยตกลงกับพื้นมันปลาบ
แค่ภาพนั้นภาพเดียวก็เกินพอแล้ว นั่นคือ ตัวลวดลายของห่วงที่ว่ามีลายไทย (ซึ่งศิลปะไทยต่างกับเทศก็ตรงนี้ เมืองไทยเน้นรายละเอียดวิจิตรบรรจง ภาพนี้แสดงศิลปะไทยออกมาจนหมดเชียว) และพื้นมันวาวสะท้อนท้องพระโรงที่เต็มไปด้วยภาพเขียน ซึ่งแค่แวบเดียวที่โผล่ออกมา ก็เห็นได้ชัดว่าผู้จัดทำตั้งใจกับมันมากแค่ไหน
แต่สำหรับการออกแบบตัวก้านกล้วย เพื่อนๆ และรูปร่างมนุษย์ ก็ทำให้เห็นชัดเจนดี เหมาะสำหรับเด็ก เพราะดูง่ายเหลือเกินว่าใครเป็นพระเอก ใครเป็นผู้ร้าย อย่างก้านกล้วยเป็นช้างสีฟ้า มีแฟน (ชื่ออะไรไม่รู้จำไม่ได้ ขออภัย) ก็เป็นช้างสีชมพู มีดอกไม้ทัดหู หน้าหวานเจี๊ยบด้วย เป็นตัวกำกับเพศ แล้วพอเป็นช้างฝ่ายพม่าก็ตัวสูงใหญ่ สีทะมึน นัยน์ตาแดงดุจโลหิต มีรอยบากที่ตา (ลองนึกภาพ อารมณ์ประมาณโจรหนังไทยที่ต้องปิดตาข้างหนึ่ง หรือไม่ก็ตามีรอยบาก อารมณ์นั้นเลย
ซึ่งเป็นกรรมวิธีค่อนข้างโบราณอยู่สักหน่อย แต่ก็ใช้ได้ดี ดูออกง่าย) คาดว่าคนที่ออกแบบเข้าใจว่าอะไรที่มันน่ารักๆจะต้องดูอ้วนๆละมั้ง ก้านกล้วยเลยกลายเป็นช้างตาโต แก้มป่อง งวงบวมเหมือนโดนผึ้งต่อยตลอดเวลาๆ ตอนเด็กๆก็ดูน่ารักอยู่ อีตอนโตขึ้นมามันก็เลยดูพิกลๆน่ะ ส่วนการออกแบบมนุษย์ก็ใช้หลักการเดียวกันกับช้าง มันก็เลยกลายเป็นคนหัวโต ตัวเล็กไป ซึ่งก็ดูน่ารักดี โดยส่วนตัวชอบตาลุงที่ก้านกล้วยไปอยู่ด้วย แกตลกดี แล้วก็หาเสียงคนพากย์ได้ดีก็เลยดูกลมกลืนกันไปหมด
ถ้าหากเทียบกับกราฟฟิคสวยงามแบบนั้นแล้ว เรื่องเสียงที่ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ดูจะด้อยไปถนัดตา คือยังขาดๆเกินๆอยู่ไม่น้อย แต่ทั้งนี้ ถ้าไม่สังเกตก็จะไม่รู้สึก เพราะโดยรวมแล้วมันก็กลมกลืนกันดี แต่ทีนี้นี่ ถ้าต้องการต่อยอดอนิเมชั่นของไทยต่อไปให้ดียิ่งขึ้น ต้องหาคนผลิตเพลงให้ได้ดีกว่านี้ จะอาศัยแต่เฉพาะภาพสวยอย่างเดียว ก็รู้สึกเสียดายโอกาสที่จะ ‘เล่น’ กับความรู้สึกคนดูมากกว่านี้
จะพูดไงดีน้อ…ภาพกราฟฟิค เป็นตัวบอกเนื้อเรื่องว่าอะไรเป็นอะไร แต่ตัวดนตรีจะเป็นตัวกำหนดความรู้สึกคนดูให้เป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งหลาย จะให้ความสำคัญกับ soungtrack ของภาพยนตร์มาก ในเนื้อร้องเดียวกัน แต่เปลี่ยนจังหวะดนตรีให้ต่างๆกันไปเพื่อเร้าอารมณ์ก็เป็นไปได้อีก
ตัวอย่างเช่น เวลาที่ก้านกล้วยอยู่ในป่า หากเพิ่มเสียงลมพัดต้นไม้จนเกิดเสียงซู่ซ่าเบาๆ หรือเสียงจิ้งหรีดร้อง (ป่ามีมั้ยหว่า) แค่เปิดเบาๆ ก็จะทำให้เกิดความสมจริงขึ้น คนดูก็อินได้ง่าย หรือช่วงเวลาที่เร้าอารมณ์ต้องการให้คนดูตื่นตัว ตื่นเต้น เพลงประกอบก็ดี แต่หนิงรู้สึกว่ามันน่าจะทำได้มากกว่านี้
ส่วนเรื่องเสียงพากย์ ก็พอไปได้ แต่คิดว่าคนไทยยังไม่ค่อยชำนาญในการพากย์เสียงเท่าไร (ก็อนิเมชั่นแรกนี่) จังหวะ หรืออารมณ์อาจจะยังไปวัดไปวาไม่ได้ ซึ่งถือว่าให้อภัยได้ เพราะเรามีคนเชี่ยวชาญทางนี้น้อย (มีก็พวกที่พากย์ภาพยนตร์ หรือไม่ก็ช่องเก้าการ์ตูนนั่นน่ะ) เราไม่เหมือนญี่ปุ่นที่มีการ์ตูนมหาศาลจนเปิดเป็นโรงเรียนนักพากย์แบบเป็นกิจจะลักษณะเลย
สำหรับตัวเนื้อเรื่องนั้น ถือว่าผูกเรื่องได้ไม่เลวเลย คือการใช้ช้างซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนไทยมาเป็นตัวเอก แล้วจะให้เรื่องราวเกี่ยวกับช้างอย่างเดียวก็กระไร ยังอุตส่าห์ไปโยงกับสงครามยุทธหัตถีอีกต่างหาก แสดงให้เห็นถึงพระบุญญาบารมีของสมเด็จพระนเรศวรอีกด้วย และไม่รู้ว่าบังเอิญหรือเปล่า เพราะดันเข้าฉายในช่วงเวลาฉลองครบ 60 ปีการขึ้นครองราชย์ ทำให้อารมณ์รักชาติของคนไทยพุ่งสูงกระฉูดในช่วงนี้พอดี เรื่องนี้ก็เลยออกมาแบบไม่ขัดเขินมากนัก
จำกันได้หรือเปล่า เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับฟุตบอลน่ะ แล้วเราไปล้อเลียนประเทศเพื่อนบ้านของเราจนทำให้เรื่องนี้ฉายไม่ได้ เรื่อง “ก้านกล้วย” ก็เหมือนกันที่พูดถึงเกี่ยวกับเราและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า หน้าตาผู้ร้ายสุดๆ แต่ก็ยังดีที่ไม่ทำให้กษัตริย์พม่าฝ่ายนู้นเป็นพวกคนขี้โกงจนเกินไปนัก ก็เลยยังรู้สึกไม่น่าเกลียดมาก ทว่ามันก็ยังไม่ค่อยดีอยู่ดีละนะกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน อนิเมะออนไลน
เรื่อง “ก้านกล้วย” ก็ยังมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป แต่ก็ถือว่าจุดดีมีมากกว่า จึงเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะพาลูกพาหลานไปดู เพราะนอกจากได้ความบันเทิงแล้ว ยังช่วยสนับสนุนวงการอนิเมชั่นไทยให้ต่อยอดให้ยิ่งๆขึ้นไปอีก
ความรู้สึกหลังดู
เพื่อหารายได้ให้กับความนิยมของภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่เพิ่งค้นพบในอินเดียและความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ Akshay Kumar Khan Kluay/ The Blue Elephant ถูกมองว่าเป็นวัวเงินสด เกมคอนอะไรวะ!!! อย่างน้อย “Hum Hain Lajawab” ก็สะอาดพอที่จะอ้างว่าเป็น The Incredibles แต่จัมโบ้เป็นเรื่องตลกใหญ่ และฉันมีความสุขที่มันจบลงด้วยการแทงก์ที่สมควรได้รับในบ็อกซ์ออฟฟิศ
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันล้มเหลวในการเชื่อมต่อกับเด็ก ๆ เรื่องราวเชิงเส้นที่เรียบง่ายสามารถระบุตัวตนของเด็ก ๆ ได้ แต่เรื่องราวเริ่มต้นจากบันทึกที่ไม่ถูกต้อง แม้แต่ลูกชายของฉันก็รู้สึกไม่แยแสภายใน 30 นาที สำหรับฉัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นการรีแฮชของ Lion King เสียความพยายามเพื่อให้ได้ชื่ออย่าง Akshay Kumar, Lara Dutta, Dimple Kapadia, Gulshan Grover, Asrani, Rajpal Yadav ในการร่วมทุนที่ล้มเหลวนี้
สำหรับคนที่สนใจอาณาจักรสัตว์อย่างแท้จริง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คน คันกล้วย (2006) น่าประทับใจอย่างแน่นอน อนิเมชั่นที่สวยงามทั้งน่ารักและน่าเกรงขามซึ่งทำให้มันเป็นเรื่องของช้างที่น่ารักและสร้างแรงบันดาลใจมาก ครึ่งหนึ่งของหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับสงครามเป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี อันที่จริงมันเป็นการเปิดหูเปิดตาให้กับวัฒนธรรมไทยและยุคสงคราม
สามารถให้ความรู้และให้ความกระจ่าง ซึ่งทำให้คันกล้วย (2006) เป็นเครื่องมือในการสอนและการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับเด็กๆ เนื่องจากเต็มไปด้วยฉากยกระดับมากมาย โดยสังเขป คุณสมบัติแอนิเมชันนี้หวานอมขมกลืนเพราะมีบทเรียนชีวิตที่น่าสนใจในตัวเอง
มีหลายประเด็นที่อาจจริงจังเกินไปสำหรับเด็ก กระนั้นก็สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องยอมรับและเอาตัวรอดในโลกของเรา ป.ล. โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าคันกล้วย (2006) ต้องใช้เวลานานกว่าถึงแม้จะมหัศจรรย์อยู่แล้วก็ตาม โชคดีที่ได้มากกว่านี้เพราะมีคันกล้วย 2 (2009)
ฉันเตรียมที่จะไม่ดูหนังเรื่องนี้กับลูกชายวัย 4 ขวบของฉัน มันดูง่อยมากบนหน้าปก ฉันกำลังดูครึ่งอ่านครึ่งจนกระทั่งเห็นโจร ฉันปิดหนังสือและมองดูนิทานจีนที่สวยงามอย่างตื่นตาตื่นใจปรากฏบนหน้าจอ ช้างและมนุษย์ไม่พูดคุยกัน
แต่พวกเขาพยายามที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน และทุกคนได้เรียนรู้บทเรียนชีวิตจริงหลายอย่าง: ใช่ การต่อสู้เป็นสิ่งที่ไม่ดี และเราไม่ควรทำเช่นนี้ แต่บางครั้งคุณต้องปกป้องประเทศและครอบครัวของคุณ.. ..อิสรภาพของคุณ แม่ของช้างสีน้ำเงินบอกเขาว่าการต่อสู้ไม่ดี แต่แล้วเมื่อเขาอยู่ในสงคราม เขาต่อสู้เพื่อสิ่งที่สำคัญสำหรับเขา
เป็นหนังที่เยี่ยมมากที่ใช้เป็นสื่อการสอนให้เด็กๆ ที่มีสมาชิกในครอบครัวคอยรับใช้ สอนลูกว่าไม่ควรตีแต่ไม่ควรโดนด้วย…..”คุ้มไหม ที่จะชกต่อยของเล่นเด็กวัยหัดเดินที่โรงเรียนอนุบาล – ไม่ แต่ถ้ามีใครทำร้ายคุณ คุณก็ป้องกันตัวเองได้” อนิเมะ
นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องป้องกันผู้ใหญ่ – หากเด็กเข้าใจการกลั่นแกล้งและการปกครองแบบเผด็จการ พวกเขามีแนวโน้มที่จะต่อสู้กับมัน ภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้