รีวิว Words Bubble Up Like Soda Pop

 

อนิเมะ Netflix เรื่องราวความรักของหนุ่มขี้อายกับสาวน่ารักที่มีปมขาดความมั่นใจ ผ่านบทกวีไฮกุ ที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาในช่วงฤดูร้อนสั้นๆ แต่แสนพิเศษของพวกเขา

 

เรื่องราวแบบ Boy Meets Girl ในฉบับแอนิเมชันญี่ปุ่นสีสันจัดจ้าน เมื่อ เชอร์รี่ เด็กหนุ่มขี้อายที่ทำงานดูแลผู้สูงอายุในห้างบังเอิญชนเข้ากับ สมายล์ เน็ตไอดอลคนดังจนทำมือถือสลับกัน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวความรักวัยรุ่นสุดซาบซ่าในช่วงฤดูร้อนที่ทั้งสองคนจะต้องจดจำตลอดไป ดูอนิเมะ

 

อนิเมะฉลองครบรอบ 10 ปีของค่าย FlyingDog ที่มาลง Netflix โดยตรง เป็นเรื่องราวของ “เชอร์รี่” เด็กหนุ่มที่ชอบแต่งกลอนไฮกุเพราะตัวเองเป็นคนขี้อาย ไม่ชอบพูดคุยกับใคร ทำงานพิเศษอยู่บ้านพักคนชรา กับ “สไมล์” เด็กสาวร่าเริงแต่มีปมเกลียดฟันกระต่าย จนต้องสวมแมสก์ปกปิดไว้ ทั้งคู่มาพบกันโดยบังเอิญ และต่างก็เริ่มตกหลุมรักกัน แต่ก็ไม่กล้าแสดงความในใจนั้นออกมา

 

นี่เป็นผลงานแอนิเมชันฉลองครบรอบ 10 ปีของบริษัท Flying Dog ซึ่งทำงานด้านเพลงและแอนิเมชันให้กับแอนิเมะดังหลายเรื่อง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ ‘Words Bubble Up Like Soda Pop’ จึงมีความโดดเด่นในแง่ตัวเพลงประกอบที่โยงใยเป็นเนื้อหาในเรื่อง โดยดึงศิลปินซิตี้พอปอย่าง โอนุกิ ทาเอโกะ มาทำเพลง “YAMAZAKURA” และวงร็อกอย่าง never young beach มาทำเพลง “Words Bubble Up Like Soda Pop” เป็นเพลงธีมประกอบให้อนิเมะออนไลน 

 

 

รีวิว Words Bubble Up Like Soda Pop เรื่องย่อ

มิตรภาพของวัยรุ่น บทประพันธ์ไฮกุกับความรักของวัยรุ่น เสมือนจะมีอะไรพิเศษ

เรื่องราวแบบ Boy Meets Girl ในฉบับแอนิเมชันญี่ปุ่นสีสันจัดจ้าน เมื่อ เชอร์รี่ เด็กหนุ่มขี้อายที่ทำงานดูแลผู้สูงอายุในห้างบังเอิญชนเข้ากับ สมายล์ เน็ตไอดอลคนดังจนทำมือถือสลับกัน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวความรักวัยรุ่นสุดซาบซ่าในช่วงฤดูร้อนที่ทั้งสองคนจะต้องจดจำตลอดไป

 

 

นี่เป็นผลงานแอนิเมชันฉลองครบรอบ 10 ปีของบริษัท Flying Dog ซึ่งทำงานด้านเพลงและแอนิเมชันให้กับแอนิเมะดังหลายเรื่อง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ ‘Words Bubble Up Like Soda Pop’ จึงมีความโดดเด่นในแง่ตัวเพลงประกอบที่โยงใยเป็นเนื้อหาในเรื่อง โดยดึงศิลปินซิตี้พอปอย่าง โอนุกิ ทาเอโกะ มาทำเพลง “YAMAZAKURA” และวงร็อกอย่าง never young beach มาทำเพลง “Words Bubble Up Like Soda Pop” เป็นเพลงธีมประกอบให้

 

และยังโดดเด่นด้านการออกแบบศิลป์ที่เอาสตูดิโอ Signal MD ที่เคยทำหนังอย่าง ‘Ride Your Wave’ (2019) ซึ่งใครเคยดูเรื่องที่ว่าน่าจะไม่แปลกใจกับสไตล์จัดจ้านที่ส่งมายังหนังเรื่องนี้ด้วย โดยยังผลิตร่วมกับสตูดิโอ Sublimation ที่มีผลงานแอนิเมชันซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์อย่าง ‘Dragon’s Dogma’ (2020) ไปหมาด ๆ และยังได้ อิชิกูโระ เคียวเฮ ผู้กำกับแอนิเมชันทีวีซีรีส์ชุด ‘Psycho-Pass’ (2012) มากำกับ และได้ ซาโตะ ได ที่เคยเขียนบทหนัง ‘Casshern’ (2004) มาเขียนบทให้ด้วย ก็สมกับเป็นโปรเจกต์ใหญ่ของค่ายที่มีชื่อในวงการแอนิเมชันอย่าง Flying Dog อยู่ไม่น้อยเลย

 

นี่เป็นอเนิมะที่ดูเหมือนจะมีเนื้อหาลึกซึ้งผ่านบทกวีไฮกุ แต่กลับไม่มีอะไรลึกซึ้งแบบที่ควรจะมีเลย ตัวบทกวีไฮกุที่เป็นจุดขายของเรื่องมีไว้แค่ประกอบตัวละครพระเอกของเรื่องที่ขี้อายสุดๆ แค่ต้องพูดอะไรต่อหน้าคนอื่นก็ไม่กล้า ก็เลยต้องสวมหูฟังป้องกันคนเข้ามาทักทาย มีความสนใจในไฮกุ หัดแต่งแล้วโพสต์ลงโซเชียล ซึ่งรายละเอียดพวกนี้เป็นแค่ส่วนประกอบของเรื่องราวความรักบางๆ จางๆ ในเรื่องเท่านั้น ทำนองแอบรักกันแบบต่างคนต่างอ้อมๆ ไม่บอกไปจนท้ายเรื่องค่อยสารภาพผ่านกวีไฮกุ ซึ่งมันค่อนข้างธรรมดามาก

ดูอนิเมะออนไลน์

ในขณะที่ตัวนางเอกของเรื่องที่ตั้งใจสร้างให้มีบุคลิกตรงกันข้ามกับพระเอก เธอเป็นสดใสร่าเริง ชอบเล่น Vlog สนทนาออนไลน์ในช่องทางของตัวเอง แต่กลับมีปมฟันกระต่ายต้องใส่แมสก์ตลอด ซึ่งก็ดูแปลกๆ เพราะคาแรกเตอร์กับการใช้ Vlog มันขัดๆ กันโดยตรง แล้วความไม่มั่นใจในเรื่องฟันกระต่ายของตัวเองก็ทำให้เธอไปดัดฟันมา กลายเป็นปมไม่ชอบเหล็กดัดฟันอีก จนดูแล้วรู้สึกว่าเป็นคาแรกเตอร์ล้นๆ ขัดกัน ไม่สมจริงในแบบอนิเมะญี่ปุ่นมากจนเกินไป เป็นนางเอกที่เหมือนจะตั้งใจให้มีเสน่ห์ แต่กลับไม่ได้มีเสน่ห์ที่ว่าออกมาเลย

 

 

ตัวเนื้อหาหลักของเรื่องเป็นการผจญภัยเล็กๆ ของทั้งคู่ตามหาแผ่นเสียงในยุคอดีต ที่เกิดจากคุณลุงในบ้านพักดูแลคนชราตามหามันไม่เจอ และเหม่อมองเดินตามหาไปเรื่อยๆ ทุกคนวันจนเป็นปมปริศนาว่าแผ่นเสียงนี้คืออะไร ทั้งคู่จึงเริ่มสืบเสาะหาเรื่องราวของแผ่นเสียงนี้จากภาพปกที่เห็น และสุดท้ายก็ได้รู้หญิงสาวนักร้องบนปกคือใคร ซึ่งก็มีฟันกระต่ายเหมือนนางเอกสไมล์ในปัจจุบัน แต่บอกเลยว่าความลับของเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายอย่างที่คิด

 

ผู้สร้างอาจจะตั้งใจให้เรื่องเรียบง่ายตามสไตล์กวีไฮกุที่เป็นคำสั้นๆ ต่อกัน แต่การที่เรื่องราวทุกอย่างในเรื่องดูเรียบง่าย เบาๆ ไปหมด แม้กระทั่งช่วงท้ายเรื่องที่ควรจะมีอะไรพีคหน่อย แต่เนื้อเรื่องก็ยังเบาๆ ง่ายๆ ไม่ต้องเดาก็รู้ว่าจบยังไงตามสูตรเกร่อๆ ที่ใช้กันมาตลอดกับแนวเรื่องความรักของวัยรุ่นทั่วไป จนรู้สึกว่าการที่ค่ายขึ้นต้นโปรโมทว่าอนิเมะฉลองครบรอบ 10 ปีเป็นการหลอกอย่างหนึ่ง เมื่องานที่ออกมามันธรรมดามากๆ แถมพวกฉากก็ดูลวกๆ เหมือนตั้งใจแค่เป็นฉากประกอบไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แต่อาจจะดูมีไสตล์ของตัวเองดีเท่านั้น

Words Bubble Up Like Soda Pop ฉูดฉาดแต่เรียบนิ่ง ไม่หวือหวาแต่งดงาม – THE  STANDARD

ข้อเสียอีกอย่างที่เห็นชัดเลยคือ การตัดฉากเล่าเรื่องแบบข้ามๆ จนดูแปลกๆ อย่างเช่น ตอนแรกที่ทั้งคู่หยิบมือถือสลับกันแล้วนัดเจอกันพร้อมเพื่อนๆ ก็ไม่มี โผล่มาอีกทีคือได้มือถือคืนแล้ว ทั้งๆ ที่ฉากนี้ควรจะมีให้ดูเป็นพิเศษ เพราะเป็นการพบหน้ากันจริงจังครั้งแรก แถมเรื่องยังตัดแบบลวกๆ จู่ๆ ทั้งคู่ก็เดินกลับบ้านด้วยกันสองคนเฉย โดยที่เพื่อนๆ ทั้งแก๊งหายไปหมด ซึ่งอะไรในลักษณะแบบนี้มีหลายครั้ง และก็เป็นฉากที่ค่อนข้างสำคัญว่าต้องมีแต่กลับไม่มี แม้คนดูจะรู้เรื่องและเข้าใจเพราะเนื้อเรื่องมันเบาๆ ง่ายๆ แต่การตัดเรื่องข้ามไปแบบนี้กลับทำให้อารมณ์ซึมลึกของเรื่องหายไปหมด เป็นอนิเมะที่ดูเหมือนจะตั้งใจอินดี้ติสๆ แต่ก็ไม่ได้ให้อารมณ์ลึกซึ้งอะไรมากมาย ยกเว้นคนจะอินกับอะไรแปลกๆ แบบนี้ หนุ่ม สาว อาจ จะชอบ มาก เพราะ เข้า กนั กับวัย นี้

รีวิว Words Bubble Up Like Soda Pop

ต้องบอกว่าผิดหวังที่คิดว่าเรื่องราวจะมีอะไรพิเศษ ตัวเรื่องทำให้รู้สึกเหมือนจะมีอะไรพิเศษ แต่กลับไม่มีอะไรเลย เดินเรื่องแบบเรียบๆ เบาบางไปกับทุกอย่างที่นำเสนอออกมา จนจบแบบไม่รู้สึกอะไรกับเรื่องเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็ไม่ได้ดูน่าเบื่อถึงขั้นจะหลับ ถือว่าแค่พอดูแก้ขัดได้เท่านั้น

 

หนังมีเส้นเรื่องหลักเกี่ยวกับเชอร์รี่ เด็กหนุ่มอินโทรเวิร์ตที่รักการแต่งกลอนไฮกุเป็นชีวิตจิตใจ แต่กลอนไฮกุมันดูไม่ค่อยเท่สมวัยเลย บวกกับความขี้อายเขาจึงเลือกเขียนกลอนไฮกุลงโซเชียลมีเดียส่วนตัวที่ไม่มีใครสนใจเพียงอย่างเดียว ด้านสมายล์เด็กสาวเน็ตไอดอลที่ดังตั้งแต่เด็ก ซึ่งโตมาแล้วเกิดอายในฟันกระต่ายที่เคยภูมิใจจนต้องใส่แมสก์ปิดบังไว้ตลอดเวลา ตรงนี้ก็จับเอาความกังวลของวัยรุ่นญี่ปุ่นมาเล่นเป็นพลอตได้น่าสนใจไม่น้อย เชื่อว่าน่าจะโดนใจวัยรุ่นญี่ปุ่นพอสมควรเลย

อนิเมะ

สรุป

 

ตัวเรื่องทำให้รู้สึกเหมือนจะมีอะไรพิเศษ แต่กลับไม่มีอะไรเลย เดินเรื่องแบบเรียบๆ เบาบางไปกับทุกอย่างที่นำเสนอออกมา จนจบแบบไม่รู้สึกอะไรกับเรื่องเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็ไม่ได้ดูน่าเบื่อถึงขั้นจะหลับ ถือว่าแค่พอดูได้เท่านั้น

 

จุดเด่น

เส้นสีสไตล์จัดจ้านอาร์ต ๆ ผสมดีไซน์คาแรกเตอร์แนวสมัยนิยมได้น่าสนใจ เรื่องราวที่ไม่ค่อยได้พบเห็นในแอนิเมะทั้งนางเอกฟันเหยิน ทั้งเรื่องสังคมผู้สูงอายุ ทั้งกลอนไฮกุ แต่เอามารวมกันแล้วทั้งน่ารักทั้งเท่ เพลงเพราะมาก สนุก ดี ซึ่ง ปนไปด้วย ความ รัก แอบ อิจฉา หน่อย ดี มาก ตอนจบหัวใจพอง

 

 

จุดสังเกต

ผู้ชมแอนิเมะสายแมสจัด ๆ อาจไม่ชอบเพราะมันเป็นแมสที่มีความอินดี้พอควร เสียงพากย์ภาษาไทยกับญี่ปุ่นของตัวละครอื่นจะให้อารมณ์ใกล้เคียงกันแต่เสียงพากย์นางเอกจะตีความคนละแบบเลย ต้องลองดูแล้วแต่ชอบ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *